วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

เหรียญครูบาศรีวิชัยวัดจามเทวี

เหรียญครูบาศรีวิชัยปี 2487ออกวัดจามเทวี “ รุ่นหัวชนขอบ “ เหรียญดี พ.ศ.ลึกน่าเก็บ ราคาไม่แรง.. เหรียญครูบาศรีวิไชยยุคแรกออกวัดจามเทวี ลำพูน 1 ใน 3 พิมพ์หายากครับ จัดว่าเป็นเหรียญ พ.ศ.ลึกที่น่าเก็บครับ คนในพื้นที่เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า “ รุ่นหัวชนขอบ “ รุ่นนี้ออกที่ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน สร้าง แจกใน งานพระราชทานเพลิงศพ ของครูบาเจ้าฯ ประมาณปีพ.ศ. 2487-89 ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้างปาง ขณะมี อายุได้ 59 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางนั้นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี จนถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาถวายพระเพลิงศพเป็นจำนวนมาก เหรียญรุ่นนี้มีประสบการณ์สูงในการใช้บูชามากคุ้มครองในเรื่องภยันตรายต่างได้ดี ผู้คนในพื้นที่ๆรู้ถึงที่มาและประวัติต่างห่วงแหนยิ่งนักใน ปัจุบันจึงเป็นของหายากแล้วเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เหรียญครูบาศรีวิชัย ปี 36

เหรียญครูบาศรีวิชัย ปี 36 
เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยรุ่นสิริวิชโย 115 ปี วัดบ้านปางเป็นเหรียญครูบาเจ้าฯ อีกรุ่นหนึ่งที่มีความงดงามสมบรูณ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเหรียญและยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากการสร้างของ คุณ นิตย์ พงษ์ลัดดาโดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภานุพันธุ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ วัดบ้านปาง อ. ลี้ จ.ลำพูน มีพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ 24 ธันวาคม 2536 โดยพระสุปฎิปันโนศิษย์สายครูบาเจ้าศรีวิไชย อธิษฐานจิตลงอักขระ แผ่นทอง นาค เงิน คือ 1. ครูบาสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่ 2. ครูบาอินทร์ วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่ 3. ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่ 4. ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่ 5. ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน 6. พระครูสังวรญาณ สำนักปฎิบัติธรรมสังวราราม จ.ลำพูน 7. พระครูขันตยาภรณ์(จันทร์) วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ 8. พระครูบวรสุขบท(ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน 9.ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ 10. ครูบาประเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่ มีแผ่น,ทอง,นาค,เงิน ลงอักขระอธิฐานจิตจากวัด 9 วัดซึ่งมีนามเป็นมงคลดังนี้ วัดศรีเกิด, วัดดวงดี , วัดชัยมงคล , วัดชัยพระเกียรติ , วัดหม้อคำตวง , วัดหมื่นเงินกอง , วัดหมื่นล้าน, วัดเชียงยืน , วัดเชียงมั่น เหรียญครูบาปี 36 เนี้อนวะ สร้างน้อย

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระเกศาครูบาศรีวิชัย

พระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ไม่ได้ถูกสร้างโดยครูบาฯท่าน แต่เป็นพระที่บรรดาลูกศิษย์ที่เคารพนับถือท่านทั้งที่เป็นพระสงฆ์และที่เป็นฆราวาส ได้นำเส้นเกศาของท่านมาสร้างในภายหลัง (เช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรกของท่าน ซึ่งสร้างขึ้นหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยมสูงมาก) เล่ากันว่าสมัยครูบาท่านมีชีวิตอยู่นั้นเวลาปลงผม บรรดาลูกศิษย์จะไปเก็บเส้นเกศาเก็บไว้ตลอด ได้ไปมากบ้างน้อยบ้าง บางท่านมีมากอย่างเช่นผ้าขาวดวงต๋า ปัญญาเจริญ ที่บ้านห้วยไซ ตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน เมื่อปี2540 อาจารย์ผดุง พุทธสโร แห่งวัดล้านตอง สันกำแพง ประสงค์จะสร้างพระจึงไปพบผ้าขาวดวงต๋า พบว่าแกเก็บเส้นเกศาครูบาฯไว้เป็นจำนวนมาก เกือบเต็มกระบอกไม่ไผ่ ปิดฝาลงรักไว้อย่างสวยงาม จึงสันนิษฐานได้ว่า ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ จนถึงช่วงท่านมรณภาพไปใหม่ๆ เส้นเกศาของท่านนั้นถูกเก็บรักษาไว้มีเป็นจะนวนมากทีเดียว ส่วนการนำมาสร้างพระเครื่องเล่ากันว่ามีการสร้างหลายครั้ง หลายผู้สร้าง แต่ก็ล้วนเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด และผสมเส้นเกศาอยู่จริงทั้งสิ้น พิมพ์ทรงส่วนมากจะล้อพิมพ์จากพระกรุสกุลลำพูนต่างๆ มวลสารที่ใช้สร้างประกอบด้วย ดอกไม้อุโบสถส่วนหนึ่ง ธรรมใบลานเก่าและพับหนังสา ส่วนหนึ่ง ใบสรี หรือใบโพ ที่เก็บได้จากต้นโพ จำนวน 108 ต้น ส่วนหนึ่ง นำมวลสารเหล่านี้มาสับให้เป็นชิ้น ๆ ตากให้แห้ง แล้วคั่วในกระทะใบใหญ่จนกรอบมีสีดำ จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด ร่อนเอาเฉพาะผงถ่านนำมาผสมกับยางรักที่กรองแล้วคลุกเคล้าจนเหนียวพอปั้นเป็นองค์ได้ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็จะขัดราชวัตรแวดล้อมพร้อมตั้งเครื่องบวงสรวงพลีกรรมตามธรรมเนียมอย่างล้านนา แล้วนำเส้นเกศามาปั้นผสมคลุกรักให้พอองค์ กดลงแม่พิมพ์ทีละองค์ทีละองค์ ทำเช่นนี้จนหมดเส้นเกศา จากกระบวนการสร้างดังกล่าวทำให้เนื้อพระผงเกศานั้นพิจารณาคล้ายกับพระผงคลุกรักนั่นเอง หากมีประสบการณ์ศึกษาสะสมพระเนื้อผงคลุกรักมาก่อน ก็จะสามารถแยกแยะพระผงเกศาฯ เก๊/แท้ ได้ไม่ยากนัก องค์ในภาพเป็นพิมพ์พระรอด ขนาดองค์พระเท่ากับพระรอดพิมพ์เล็กกรุมหาวัน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพระสกุลลำพูนและศรัทธาในท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย องค์นี้นับว่าคุ้มค่ามากครับ เหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญตามราคาไปไกลหลายแสน พระผงเกศามีเกศาของท่านผสมอยู่ แถมเป็นพิมพ์พระสกุลลำพูนที่ท่านนับถือ

สุดยอดของพระเนื้อผงพุทธคุณ ที่มีเนื้อหามวลสารที่เป็นสิ่งมงคลสูงสุดได้แก่เส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย แม่ทัพแห่งกองทัพธรรมล้านนานี้ แม้ท่านไม่ได้ปลุกเสก แต่นับได้ว่าเป็นพระเครื่องรุ่นเดียวที่สร้างทันท่าน เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นพระมากด้วยพุทธคุณทางเมตตามหานิยม เด่นทางแคล้วคลาดภยันตราย กันพิษภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่าการเดินทาง รอดพ้นภัยดีนักแล อิทธิปาฏิหารย์ด้านคงกระพันแม้ ไม่ปรากฏ จะมีก็แต่เพียง เมื่อเกิดอุบัติเหตุมักจะแคล้วคลาดรอดพ้นมาได้ อาจมีบาดแผลบ้าง บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น คราใดที่พระครูบาเจ้าจะปลงผม (เส้นเกศา) เหล่าบรรดาพระลูกศิษย์และศรัทธา ชาวบ้านจะพากันเอาผ้าขาวมารอง พร้อมใบบัวมาคอยรับคอยห่อ เอาพระเกศาของท่านครูบาเจ้าฯ เมื่อได้เส้นเกศาที่ครูบาท่านปลงแล้ว ก็จะขออนุญาตินำออกไปแจกให้ คณะศรัทธาชาวบ้านส่วนหนึ่ง โดยอีกส่วนเก็บเอาไว้กับวัดที่ท่านพักอยู่ ณ ขณะเมื่อคราปลงเส้นผมนั้น ซึ่งต่อมาบางวัดก็ได้นำเอาไปบรรจุรวมกับอัฐิธาตุ ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยดังปรากฏตามประวัติการสร้างสถูป อนุสาวรีย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สืบมาถึงปัจจุบัน
ลักษณะของเส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตามที่ได้พบเห็นในเนื้อพระผงเกศาของท่านจะมีความยาวประมาณมือหยิบ หรือประมาณ เซนติเมตร เป็นส่วนใหญ่ลักษณะเส้นผมจะเป็นสีน้ำผึ้ง, ใส ดุจดั่งเส้นใยแก้วก็มี การสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสรและดอกไม้ต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์ ในพระวิหารรวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึงพระประธานในพระวิหารของวัด ที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ เมื่อได้มวลสารผงเกสรตลอดจนวัสดุมงคลครบถ้วนตามความเชื่อของศรัทธาชาวบ้านแล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรักโดยมีผงใบลานที่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึกอักขระไว้ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนเหนียวได้ตามประสงค์เจตนา จึงนำเอามากดลงบนแม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นพระเกศาครูบาเจ้าฯ ลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง นำเอาเส้นพระเกศาผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มีจึงปรากฏในภายหลังของพระเครื่องเส้นเกศาฯ นี้ ด้วยบางองค์ก็จะเห็นเส้นพระเกศาชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย สำหรับแม่พิมพ์ที่นำมาสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยนั้นได้ยึดถือเอาแบบพุทธพิมพ์ของพระสกุลลำพูนเป็นตัวอย่างแม่พิมพ์พระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรงส่วนมากจะเป็น พิมพ์พระสกุลลำพูน เช่นพระคง พระบาง พระรอด พระเปิม พระลือ พระเหลี้ยม พระลบ พระสาม พระสกุลลำพูนคงหาได้ง่ายในยุคนั้นอีกทั้งยังเป็นที่เคารพของผู้คนในพื้นถิ่น จึงนำมาเป็นต้นแบบการสร้าง ต้นแบบสวยพระเกศาองค์ที่ถอดแบบออกมาก็สวยตาม พิมพ์ต่อมาคือ พิมพ์รูปเหมือนครูบาเจ้าฯ ที่พบมากคือมีลักษณะคล้ายกับพระเนื้อดินรุ่นอัฐิหลังย่นคือเป็นรูปครูบาเจ้าฯ นั่งเต็มองค์ พิมพ์ทรงกลุ่มสุดท้ายคือ พิมพ์ทรงพระพุทธ มีอยู่หลายแบบหลายปางหลายขนาด เวลากำหนดประเภทพระเข้าประกวดมักไม่เป็นมาตรฐาน เช่น แบ่งเป็นพิมพ์รัศมีใหญ่ รัศมีกลาง รัศมีเล็ก นั่งบัว ฯลฯ ความหลากหลายนี้คือเสน่ห์ของพระเกศาฝีมือแบบชาวบ้านที่สะท้อนความเคารพนับถือในตัวครูบาฯ ใครอยากทำแบบพิมพ์อย่างไรก็แล้วแต่ใจศรัทธา
การพิจารณาเนื้อพระเกศาเพื่อกำหนดอายุนั้น อาศัยความเก่าความแห้งของมวลสารและเส้นเกศาในเนื้อหาของพระเป็นหลัก ทั้งนี้ พระผงเกศาของท่านนอกจากจะมีพระทำเทียมเลียนแบบแล้วยังมีพระผงอื่น ๆ ที่พยายามให้เป็นพระเกศาครูบาเจ้าฯ ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผงของพม่า เพราะมวลสารหลัก ๆ เหมือนกัน คือ สมุก เกสรดอกไม้ และการคลุกรัก ยิ่งไม่พบเส้นเกศาก็ยิ่งพิจารณายากเล่นหาจบได้ยาก การเช่าหาจึงต้องพิจารณาถึงที่มาที่ไปที่ชัดเจน หรือเช่าหาจากผู้รู้จริงที่เชื่อถือได้

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คาถาครูบาศรีวิชัย

คาถาบารมี ๙ ชั้น บารมี ๓๐ ทัศ (ครูบาศรีวิชัย)

จากการบอกเล่ามีเนื้อความว่า …ครั้งหนึ่ง สมัยครูบาศรีวิชัยเจ้าออกเดินธุดงส์ไปตามตางแถบภาคเหนือ ในตอนท่านเดินตางผ่านโต้งนาแห่งหนึ่ง ท่านก็ได้ปะเถียงนาหรือห้างนาหลัง เถียงนาหลังนั้นถูกไฟไหม้แต่ไฟไหม้บ่หมด ยังเหลืออยูู่ตรงใจคา ท่านก็เข้าไปผ่หันใส่ปั๊บสาใบลานเหน็บอยู่ตั๊ดชายคา เขียนด้วยตั๋วเมือง ซึ่งเป็นคาถาบารมี ๓๐ ทัศ มาจนถึงปัจจุบันนี้

=====   สาธุ สาธุ สาธุ พระปัญญาปารมีสามสิบตั๊ด สาธุพระปัญญาปาระมีวังแวดล้อม วิริยะปาระมีล้อมระวังดี ศีลปาระมีบังหอกดาบ เมตตาปารมีผาบแป๊ทังปืน ทานนะปาระมีหื้อเป๋นผืนตั้งต่อ อุเบกขาปาระมีหื้อก่อเป๋นเวียง สัจจะปาระมีแวดระวังดีเป๋นใต้ ขันติปารมีก๋ายเป๋นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิฐานะปารมีผันผาบไปทุกแห่ง แข็งๆ แรงๆ ผายปราบฝูงหมู่มาร ผีสางพรายเผด ทุกทวีปภพถีบผั้งผายหนี นางธรณีอัศจรรย์ โสสะหมื่นผันอยู่ข้าง น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนานองนานอก เป๋นเข้าตอกดอกไม้ถวายบูชาพระแก้วแก่นไม้สะทัน พระพุทธังจุ่งมาผายโผดอนุญาโตดโผดผู้ข้าแต๊ดีหลี แม่ธรณีออกมารีดผมอยู่ที่ข้างธาตุจ้างร้ายข่ายคะจังงาสับดินพ่นน้ำนทีนองผัดผาย คอพรายหักทบท้าวพญามารอ่าวๆปูนกั๋วกราบยอมือขึ้นทูนหัวใส่เกล้า ผู้ข้านี้ได้จื่อว่าลูกศิษย์พระพุทธเจ้าต๋นมีบุญสมภารอันมากนัก พระพุทธเจ้าจึงจัดตั้งปารมีไว้เก้าจั้น ตั้งไว้ตั้งหน้าก่ได้เก้าจั้น ตั้งไว้ตังหลังก่าได้เก้าจั้น ตั้งแต่หัวแผวตีน ก่ได้เก้าจั้น ตั้งแต่ตีนแผวหัวก่าได้เก้าจั้นแสนวา ลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่า ก่จักบ่มาไก้ ข้าเจ้าก่เลยได้ว่า พุทธะคุนัง ธรรมมะคุนัง สังฆะคุนัง พุทธะอินทา ธรรมะอินทา สังฆะอินทา อัสอับอั้นแม่ธรณีผู้อยู่เหนือน้ำ ผู้อยู่ก้ำแผ่นดิน กอนข้าได้ระลึกกึ๊ดถึงคุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วตังสามผะกาน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณลม คุณกุศลราชเจ้าก่ดี คุณพรุะต๋นภาวนาก่ดี คุณนางอุตราก่ดี คุณธรณีเจ้าก่ดี ขอหื้อจุ่งมาจ่วยฮักษาตังก้ำหน้าและก้ำหลังตนตั๋วแห่งข้าพระเจ้าในคืนวันนี้ยามนี้จุ่งแต๊ดีหลีแด่เต๊อะ

พุทโธ พุทธังรักษา ธัมโม ธัมมังรักษา สังโฆ สังฆังรักษา
พุทโธ พุทธังอะระหัง ธัมโม ธัมมังอะระหัง สังโฆ สังฆังอะระหัง
พุทโธ พุทธังกัณหะ ธัมโม ธัมมังกัณหะ สังโฆ สังฆังกัณหะ
อายุ วรรณโณ สุขัง พะลัง สาธุ


คำไหว้บารมี 30 ทัศ(แบบครูบาศรีวิชัย)

              ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
              สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
              เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
              ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
             วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
             ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
             สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
            อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
          เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
         อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
         ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง



วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิธีดูเหรียญครูบาศรีวิชัย 2482




วันนี้เรามาดู ตำหนิและจุดตายของ เหรียญครูบาศรีวิชัย 2482 ขออนุญาตินำมาเผยแพร่ครับ

ครูบาศรีวิชัย 2482 วัดสวนดอก

เหรียญ ครูบาวัดสวนดอกรุ่นแรก ปี 2500 บล็อคแว่นตานิยม
 ปลุกเสกโดยครูบาคำแสน สมัยก่อนถือว่าเหรียญรุ่นนี้ใช้แทนเหรียญรุ่นปี 2482 หลังๆ มามีการทำเหรียญครูบามากขึ้นคนก็เลยลืมเหรียญรุ่นนี้ไป เหรียญนี้เนื้อตะกั่ว(ไม่ใช่ลองพิมพ์ เพราะเนื้อนี้ใช้แจกจริงๆ)

ครู บาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ


ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศี ลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก

ครูบาศรีวิชัย มีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่าน อธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาว ล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดย พลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระรอดครูบาศรีวิชัย

หนึ่งในวัตถุมงคลของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยตามมาตราฐานการอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชาไทย คือ "พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย" นับเป็นพระเกศาที่นิยมสูงที่สุดในแผ่นดินล้านนา การสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มีทรงพิมพ์มากมายไม่จำกัด แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้ 1.ทรงพิมพ์พระสกุลลำพูน เช่นพระคง พระรอด พระบาง พระเปิม ฯ 2.พิมพ์ทรงอิสระ ตามแต่ช่างชาวบ้านจะแกะแบบพิมพ์ 3.พิมพ์รูปเหมือนของครูบาเจ้าศรีวิชัย การบรรจุพระเกศาในพระพิมพ์อาจทำโดยใช้เส้นเกศาคลุกปนกับมวลสารที่ใช้สร้างพระ หรือโรยติดผิวพระ หรือห่อกระดาษสาฝังไว้ใต้ฐานพระ การฝังพระเกศาหากไม่เห็นเส้นเกศาเรียกว่า"เกศาจม"หากเห็นพระเกศาเรียกว่า"เกศาลอย"
ยุคสมัยการสร้าง แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ยุคต้น พระจะแห้งและเบามากอายุการสร้างนานกว่า 80 - 90 ปี ยุคกลาง อายุการร้าง  60 - 70 ปี ทั้ง 2 ยุคเป็นการสร้างช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ (แต่ไม่ใช่ท่านสร้างเองนะครับ) 3.ยุคปลายเป็นการสร้างพระเกศาหลังท่านมรณะภาพไปแล้ว

พระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ไม่ได้ถูกสร้างโดยครูบาฯท่าน แต่เป็นพระที่บรรดาลูกศิษย์ที่เคารพนับถือท่านทั้งที่เป็นพระสงฆ์และที่เป็นฆราวาส ได้นำเส้นเกศาของท่านมาสร้างในภายหลัง (เช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรกของท่าน ซึ่งสร้างขึ้นหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยมสูงมาก) เล่ากันว่าสมัยครูบาท่านมีชีวิตอยู่นั้นเวลาปลงผม บรรดาลูกศิษย์จะไปเก็บเส้นเกศาเก็บไว้ตลอด ได้ไปมากบ้างน้อยบ้าง บางท่านมีมากอย่างเช่นผ้าขาวดวงต๋า ปัญญาเจริญ ที่บ้านห้วยไซ ตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน เมื่อปี2540 อาจารย์ผดุง พุทธสโร แห่งวัดล้านตอง สันกำแพง ประสงค์จะสร้างพระจึงไปพบผ้าขาวดวงต๋า พบว่าแกเก็บเส้นเกศาครูบาฯไว้เป็นจำนวนมาก เกือบเต็มกระบอกไม่ไผ่ ปิดฝาลงรักไว้อย่างสวยงาม จึงสันนิษฐานได้ว่า ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ จนถึงช่วงท่านมรณภาพไปใหม่ๆ เส้นเกศาของท่านนั้นถูกเก็บรักษาไว้มีเป็นจะนวนมากทีเดียว ส่วนการนำมาสร้างพระเครื่องเล่ากันว่ามีการสร้างหลายครั้ง หลายผู้สร้าง แต่ก็ล้วนเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด และผสมเส้นเกศาอยู่จริงทั้งสิ้น พิมพ์ทรงส่วนมากจะล้อพิมพ์จากพระกรุสกุลลำพูนต่างๆ มวลสารที่ใช้สร้างประกอบด้วย ดอกไม้อุโบสถส่วนหนึ่ง ธรรมใบลานเก่าและพับหนังสา ส่วนหนึ่ง ใบสรี หรือใบโพ ที่เก็บได้จากต้นโพ จำนวน 108 ต้น ส่วนหนึ่ง นำมวลสารเหล่านี้มาสับให้เป็นชิ้น ๆ ตากให้แห้ง แล้วคั่วในกระทะใบใหญ่จนกรอบมีสีดำ จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด ร่อนเอาเฉพาะผงถ่านนำมาผสมกับยางรักที่กรองแล้วคลุกเคล้าจนเหนียวพอปั้นเป็นองค์ได้ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็จะขัดราชวัตรแวดล้อมพร้อมตั้งเครื่องบวงสรวงพลีกรรมตามธรรมเนียมอย่างล้านนา แล้วนำเส้นเกศามาปั้นผสมคลุกรักให้พอองค์ กดลงแม่พิมพ์ทีละองค์ทีละองค์ ทำเช่นนี้จนหมดเส้นเกศา จากกระบวนการสร้างดังกล่าวทำให้เนื้อพระผงเกศานั้นพิจารณาคล้ายกับพระผงคลุกรักนั่นเอง หากมีประสบการณ์ศึกษาสะสมพระเนื้อผงคลุกรักมาก่อน ก็จะสามารถแยกแยะพระผงเกศาฯ เก๊/แท้ ได้ไม่ยากนัก องค์ในภาพเป็นพิมพ์พระรอด ขนาดองค์พระเท่ากับพระรอดพิมพ์เล็กกรุมหาวัน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพระสกุลลำพูนและศรัทธาในท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย องค์นี้นับว่าคุ้มค่ามากครับ เหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญตามราคาไปไกลหลายแสน พระผงเกศามีเกศาของท่านผสมอยู่ แถมเป็นพิมพ์พระสกุลลำพูนที่ท่านนับถือ นับว่าเป็นของดีราคาถูก พุทธคุณสูงเกินราคามากๆ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เหรียญครูบาศรีวิชัยปี36 วัดฝั่งหมิ่น

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดฝั่งหมิ่น ปี 2536 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้างเพียง 2,536 เหรียญ

รุ่นนี้พิเศษมากๆตรงที่ปลุกเสกโดย หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ และเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือเราอีกมากมายครับ อีกทั้งยังเป็นเหรียญประสบการณ์ของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ

เนื่องจากทหารที่รอดตายจากระเบิด ส่วนใหญ่มีเหรียญนี้บูชาขึ้นคอกันครับ บอกได้คำเดียวหาที่ไหนไม่ได้แล้วครับ ความศักดิ์สิทธิ์ล้นฟ้าล้นแผ่นดินแห่งบารมีครูบาเจ้าศรีวิชัย และ ความเมตตาอันเข้มขลังแห่งหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ มารวมกันอยู่ในเหรียญนี้แล้วครับ ราคาถือได้ว่าถูกมากๆเลยทีเดียว แต่พุทธคุณนั้นเกินจะบรรยายครับ

นับว่าเป็นเหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่นใหม่ที่น่าเก็บ แถมราคายังไม่แพงครับ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รูปหล่อโบราณ ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศรีโสดา


รูปหล่อโบราณ ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศรีโสดา
 รุ่น สร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ลักษณะหล่อเป็นรูปครูบาเจ้าศรีวิชัย นั้งสมาธิเต็มองค์ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ วัสดุที่ใช้เป็นเนื้อทองสำริด การหล่อโบราณในสมัยนั้นบ่ง\nบอกถึงฝีมือของช่างชาวบ้าน แต่สิ่งที่บ่งบอกเป็นเอกลักษณ์ว่าคือครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น คือลูกประคำ และผ้ารัดประคต มีรอยแต่งตะไบที่ช่างใช้เก็บรายละเอียดในองค์พระ จะมีรอยตะไบใหญ่ๆ รอบองค์พระ ไม่ปรากฏข้อความใดๆ ในองค์พระแต่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นที่วัดศรีโสดา ในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพช่วงปี พ.ศ.2477-2478 รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิไชยรุ่นนี้ ถือว่าเป็นรูปหล่ออันดับหนึ่งของครูบาเจ้าศรีวิชัยที่หลายท่านอยากมีไว้ครอบครอง\nจำนวนการสร้างนั้นไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าสร้างได้ไม่มาก เพราะการหล่อโบราณในสมัยนั้นทำได้ยาก

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เหรียญครูบาศรีวิชัยปี18

เหรียญซุ้มพญานาค พระครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ปี 2518 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ต พ พิธีพุทธาภิเษกวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ จ.เชียงใหม่ ด้านหลังยันต์ดวง จัดสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 เหรียญนี้เป็นที่ยอมรับกันว่า มีพิธีปลุกเสกพิธีใหญ่และมีเกจิดังๆ ร่วมปลุกเสกกันหลายท่าน ออกที่วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ แต่ราคาก็ยังไม่แพง ส่วนพุทธคุณนั้นเกินราคาที่เช่าหา เกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ร่วมปลุกเสกเพียบ น่าสะสมบูชา สำหรับเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก อาทิ เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์, หลวงปู่แหวน วัดดอนแม่ปั๋ง, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ฯลฯ เรียกว่าเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกนั้นก็สุดคุ้มแล้ว เหรียญนี้ประกอบด้วยเหรียญที่มีการตอกโค๊ตตัว "พ" และเหรียญที่ไม่ได้มีการตอกโค๊ต สำหรับค่านิยมนั้นอยู่ที่หลักพันต้นๆ แล้วแต่สภาพความสวยและเหรียญที่ตอกโค๊ต จะมีราคาค่านิยมแพงกว่าเหรียญที่ไม่ตอกโค๊ตเป็นธรรมดา เหรียญนี้ได้รับการจัดสร้างโดยวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ปลุกเสกหมู่โดยเกจิภาคเหนือ ซึ่งส่วนมากก็คือลูกศิษย์ของท่าน พระรุ่นนี้เป็นหนึ่งในรุ่นยอดประสบการณ์ของทางภาคเหนือ

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ประวัติครูบาศรีวิชัย

ประวัติและปฏิปทา   ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย
พระมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ด้วยทานะ สีละ สัจจะ ขันติ
วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน
ชาตะ ๑๑ มิถนายน ๒๔๒๑
มรณะ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑

“ต๋นข้าพระศรีวิชัยภิกขุ เกิดมาปิ๋เปิ๋กยี จุลศักราช ๑๒๔๐ ตั๋วพุทธศักราช ๒๔๒๐
ปรารถนาขอหื้อข้าฯ ได้ตรัสรู้ปัญญาสัพพัญญูโพธิญาณเจ้าจิ่มเตอะ”

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรี วิชัย พระครูบาศรีวิชัย หรือครูบาศีลธรรม  แต่ท่านมักเรียกตนเองว่า พระชัยยา ภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ

         เดิมชื่อ เฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

          ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยยังเป็นเด็ก หมู่บ้านดังกล่าวมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัตติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา

             ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่อารามแห่งนี้ โดยมีครูบาขัตติยะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้น ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโย ภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย บางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช

            เมื่ออุปสมบทแล้ว  ท่านก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต แม่ทา ลำพูน  ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกรูปหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของท่านคือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน

         ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัตติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยัง บริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี  โดยให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง  มาถึงปัีจจุบัน ตามชื่อของหมู่บ้าน

         ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ

                  วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง,

                  วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา,

                   วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ,

                    วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก,

                     วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย,

                      วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (สาหร่ายน้ำจืดสีเขียว)

                        วันเสาร์ ไม่ฉันบอน

           นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้ (ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก

           ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐาน บารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า

“...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว...”

และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าว ในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง

          ข้าพเจ้าเห็นว่าผลงานชิ้นเอกที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือการเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลัง ศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ด้วยเวลาเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐเลย



แนวปฏิบัติของครูบาศรีวิชัย

              ท่านครูบาปฏิบัติ ตามแนวของพระสงฆ์นิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยอง ซึ่งบางอย่างต่างจากนิกายอื่นๆ เช่น การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก(ว่อม) แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแต โดยอ้างว่าสืบวิธีการนี้มาจากลังกา

           

๏ ผลงานชิ้นสำคัญ

การสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ แน่นอนทีเดียว การมีถนนขึ้นดอยสุเทพนั้นย่อมมีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะผู้คนที่ศรัทธาจะได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุอันสำคัญนี้ได้ทั่วถึงกัน ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งลานนาไทยนี่เองคือผู้สร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งนับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของท่านอีกงานหนึ่ง

             ถนนขึ้นเขาระยะทางยาว ๑๑ กิโลเมตร ในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์ทุ่นแรงเหมือนทุกวันนี้ ครูบาศรีวิชัยท่านทำได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น ทางฝ่ายบ้านเมืองได้พยายามที่จะสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพมาหลายครั้งหลายหนแต่ต้องประสบความผิดหวังทุกคราว เพราะไม่สามารถจะสร้างได้ ทั้งปัญหาจากงบประมาณ และความทุรกันดารของป่าเขาที่จะต้องตัดถนนผ่าน

         แต่ครูบาศรีวิชัย นำศรัทธาประชาชน ร่วมบุญกันสร้างถนนด้วยพลังศรัทธา แถมใช้เวลาเพียง ๕ เดือน ๒๒ วันเท่านั้น

         ครูบาศรีวิชัยได้พิสูจน์คำเล่าลือของชาวบ้านและสานุศิษย์ที่นับถือท่านว่า เป็น “ต๋นบุญ” หรือ “ผู้วิเศษ” อย่างแท้จริง


๏ ขอ ๖ เดือน

            ครูบาศรีวิชัยได้รับปากว่าจะเป็นประธานในการสร้างถนนสายนี้ให้แล้วเสร็จภาย ในเวลาเพียง ๖ เดือน นั่นทำให้ หลวงศรี ประกาศ ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ หนักใจยิ่งขึ้น เนื่องจากบริเวณเชิงเขาขึ้นดอยสุเทพจนถึงบันไดนาควัดพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นป่าใหญ่และหุบเหวลึกหลายต่อหลายแห่ง การที่จะสร้างถนนได้นั้นต้องสำรวจทางแผนที่ จัดทำรายละเอียดเส้นทางที่จะสร้างและอื่นๆ อีกมาก หลวงศรีประกาศได้รับเป็นธุระเรื่องนี้ การสำรวจเส้นทางถนนสายนี้ใช้เวลาเป็นเดือนเลยทีเดียว ในที่สุดก็สำเร็จ หลวงศรีประกาศได้นำเอาแผนที่เสนอให้ครูบาศรีวิชัยดูแนวการสร้างถนน ซึ่งครูบาศรีวิชัยก็เห็นด้วย รวมระยะทางจากเชิงดอยสุเทพถึงบันไดนาควัดพระธาตุดอยสุเทพ ทั้งหมด ๑๑ กิโลเมตร ๕๓๐ เมตร


..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/375821


๏ ใบปลิวเจ็กโหงว

ข่าวเรื่องครูบาศรีวิชัยจะสร้างถนนได้แพร่ออกไปเรื่อยๆ เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเห็นว่า การสร้างถนนสายนี้ทำได้ยาก แต่บรรดาสานุศิษย์และผู้ใกล้ชิดพระครูทั้งหลายต่างเชื่อว่า ท่านสามารถทำได้อย่างแน่นอน ในจำนวนนั้นก็มีเจ๊กโหงวรวมอยู่ด้วย ทันทีที่เจ็กโหงวรู้ข่าวก็รีบไปหาครูบาศรีวิชัยอย่างเคย ถึงแม้จะถูกลอบยิงปางตายมาแล้วก็ตาม ความช่วยเหลือสิ่งแรกของเจ็กโหงวก็คือการพิมพ์ใบปลิวบอกข่าวเรื่องพระครูจะ สร้างถนนโดยใช้เงินส่วนตัวพิมพ์ขึ้น ๕ พันแผ่น แจกจ่ายทั่วไป ต่อมาเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ก็มีศรัทธาช่วยพิมพ์อีก ๕ พันแผ่นเช่นเดียวกัน ทำให้ข่าวแพร่ไปอย่างรวดเร็ว




๏ จอบแรก

            ครูบาศรีวิชัยได้กำหนดฤกษ์ที่จะลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุ เทพ ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗ และพิธีทางประวัติศาสตร์อันจารึกไว้คู่นครเชียงใหม่ก็เริ่มขึ้น ท่ามกลางประชาชนชาวเชียงใหม่และลำพูนเป็นจำนวนมาก

          เวลา ๐๑.๐๐ น. ของวันที่ ๙ พระครูบาเถิ้มประกอบพิธีชุมนุมเทวดา บวงสรวงอันเชิญเทวดาทั้ง ๔ ทิศ เวลา ๑๐.๐๐ น. จึงเริ่มลงจอบแรก เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงเป็นผู้ขุดจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ เริ่มต้นงานอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ท่ามกลางเสียงสวดชยันโตชัยมงคลคาถา จากภิกษุสานุศิษย์ของท่านพระครูบาศรีวิชัย หลังจากวันนั้นก็ได้มีประชาชน จากทั่วสารทิศมาช่วยกันสร้างถนนร่วมเป็นอานิสงส์พร้อมกับนมัสการ ท่านพระครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก จนถึงกับต้องแบ่งพื้นที่การสร้างเป็นระยะๆ ในตอนเช้าก็ได้มีประชาชนนำเอาข้าวสารอาหารพืชผักและอาหารคาวหวาน มาทำบุญกันอย่างล้นหลาม ยิ่งนานวันคนยิ่งทวีมากขึ้น ผลงานรุดหน้าในแต่ละวัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ ต่างก็อยากทำบุญกุศลและชมบุญญาธิการบารมีของพระครูบาศรีวิชัย ในที่สุดถนนที่ทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นก็สำเร็จลง ภายในระยะเวลา ๕ เดือน ๒๒ วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่รวดเร็วมากโดยไม่ต้องใช้งบประมาณ แผ่นดินเลยแม้แต่บาทเดียว นี่คือบารมีของครูบาศรีวิชัยโดยแท้


๏ รถยนต์คันแรก

              วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ คือวันประวัติศาสตร์วันหนึ่งของนครเชียงใหม่ เพราะเป็นวันเปิดถนนให้รถขึ้นดอยสุเทพเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ครูบาศรีวิชัย ครูบาเถิ้ง หลวงศรีประกาศ เถ้าแก่โหงว และบุคคลอื่นๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ มาชุมนุมอยู่กันอย่างพร้อมพรั่งเพื่อรอเวลาที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จะมาทำพิธีเปิดถนนขึ้นดอยสุเทพ และประดับรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพเป็นคันแรก ครั้นได้เวลา รถยนต์ของเจ้าแก้วนวรัฐก็แล่นมาถึงปะรำพิธีที่เชิงดอยสุเทพ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และก็ประทับรถยนต์เรื่อยขึ้นไปตามถนนที่เพิ่งสร้างเสร็จ จนกระทั่งถึงเชิงบันไดนาค วัดพระบรมธาตุวัดดอยสุเทพ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษ ตามสภาพถนนที่เป็นเพียงดินในครั้งนั้น

เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เสด็จขึ้นไปทรงนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ แล้วประทับรถยนต์เสด็จสู่นครเชียงใหม่ ดอยสุเทพก็มีถนนสำหรับรถยนต์ขึ้นไปนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ถนนสายนั้นเมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ มีชื่อว่า ถนนดอยสุเทพ ครั้นต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็น ถนนศรีวิชัย เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ซึ่งเป็นประธานในการสร้างถนนสายนี้....

         บางคนไม่รู้ซึ้งหรือรู้เพียงผิวเผินก็เข้าใจว่าท่านพระครูบา ไม่ค่อยรู้หลักธรรมวินัยเป็นพระบ้านนอกบ้านป่า แต่หากลองนึกพิจารณาด้วยจิตอันสุขุม จะเห็นได้ว่าท่านพระครูบาเจ้าเป็นคนซื่อสัตย์มีแต่ความบริสุทธิ์ ท่านไม่ยอมค้อมหัวให้กิเลส ใครจะบังคับหรือขู่เข็นอย่างไร ในการที่จะรับเอาวิ่งที่ไม่ใช่ธรรมวินัยอย่าพึงหวัง


๏ คำสั่งสอนของท่านพระครูบาศรีวิชัย

           เครื่องประดับขัติยะนารีทั้งหลาย มีแก้วแหวนเงินทอง เป็นตัณหากามคุณ เหมือนดั่งน้ำผึ้งแช่ยาพิษ สำหรับนำความทุกข์มาใส่ตัวโดยบ่มีประโยชน์สิ่งใดเลย แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ มหาสรพู ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ แม่น้ำนี้ แม้นจักเอามาอาบให้หมดทั้ง ๕ แม่นี้ ก็บ่ อาจจะล้างบาป คือความเดือดร้อนภายในให้หายได้

            ลมฝนลูกเห็บ แม้นจะตกลงมาหลายห่า เย็นและหนาวสักปานใด ก็บ่อาจเย็นเข้าไปถึงภายในให้หายจากความทุกขเวทนาได้

           ศีล ๕ เป็นอริยทรัพย์ เป็นต้นเหตุแห่งความบริสุทธิ์ เป็นน้ำทิพย์สำหรับล้างบาป คือความเดือดร้อนภายในให้หายได้ เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว สมาธิ ความตั้งมั่นก็จะมีมา แล้วให้ปลุกปัญญา ปัญญาก็จักเกิดมีขึ้นได้ คือ ให้หมั่นรำลึกถึงตัวตนอยู่เสมอว่า บ่ใช่ตัว บ่ใช่ตน จนเห็นแจ้งด้วย ปัญญาของตน จึงเป็นสมุทเฉทประหานกิเลสหมดแล้ว จิตเป็นวิมุติหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวลได้


            ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง “นั่งหนัก” อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อ สร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง

              ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตาม ที่ต่างๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน อันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น




ข้อมูลอ้าง อิง
- หนังสือประวัติของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ที่ระลึกในงานฉลองพิพิธภัณฑ์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน วันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗
- นิตยสารอภินิหารและพระเครื่อง ฉบับที่ ๔๘ ประจำเดือนกรกฎาคม
- นิตยสารโลกทิพย์ ธรรมสมาธิ ฉบับที่ ๑๐ ปีที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๖
- ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พ.ค. ๒๕๑๘
- สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒
- ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวนดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗

                                    >>>>> จบ >>>>>

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พระมหาสะง่า

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/375821