วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คาถาครูบาศรีวิชัย

คาถาบารมี ๙ ชั้น บารมี ๓๐ ทัศ (ครูบาศรีวิชัย)

จากการบอกเล่ามีเนื้อความว่า …ครั้งหนึ่ง สมัยครูบาศรีวิชัยเจ้าออกเดินธุดงส์ไปตามตางแถบภาคเหนือ ในตอนท่านเดินตางผ่านโต้งนาแห่งหนึ่ง ท่านก็ได้ปะเถียงนาหรือห้างนาหลัง เถียงนาหลังนั้นถูกไฟไหม้แต่ไฟไหม้บ่หมด ยังเหลืออยูู่ตรงใจคา ท่านก็เข้าไปผ่หันใส่ปั๊บสาใบลานเหน็บอยู่ตั๊ดชายคา เขียนด้วยตั๋วเมือง ซึ่งเป็นคาถาบารมี ๓๐ ทัศ มาจนถึงปัจจุบันนี้

=====   สาธุ สาธุ สาธุ พระปัญญาปารมีสามสิบตั๊ด สาธุพระปัญญาปาระมีวังแวดล้อม วิริยะปาระมีล้อมระวังดี ศีลปาระมีบังหอกดาบ เมตตาปารมีผาบแป๊ทังปืน ทานนะปาระมีหื้อเป๋นผืนตั้งต่อ อุเบกขาปาระมีหื้อก่อเป๋นเวียง สัจจะปาระมีแวดระวังดีเป๋นใต้ ขันติปารมีก๋ายเป๋นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิฐานะปารมีผันผาบไปทุกแห่ง แข็งๆ แรงๆ ผายปราบฝูงหมู่มาร ผีสางพรายเผด ทุกทวีปภพถีบผั้งผายหนี นางธรณีอัศจรรย์ โสสะหมื่นผันอยู่ข้าง น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนานองนานอก เป๋นเข้าตอกดอกไม้ถวายบูชาพระแก้วแก่นไม้สะทัน พระพุทธังจุ่งมาผายโผดอนุญาโตดโผดผู้ข้าแต๊ดีหลี แม่ธรณีออกมารีดผมอยู่ที่ข้างธาตุจ้างร้ายข่ายคะจังงาสับดินพ่นน้ำนทีนองผัดผาย คอพรายหักทบท้าวพญามารอ่าวๆปูนกั๋วกราบยอมือขึ้นทูนหัวใส่เกล้า ผู้ข้านี้ได้จื่อว่าลูกศิษย์พระพุทธเจ้าต๋นมีบุญสมภารอันมากนัก พระพุทธเจ้าจึงจัดตั้งปารมีไว้เก้าจั้น ตั้งไว้ตั้งหน้าก่ได้เก้าจั้น ตั้งไว้ตังหลังก่าได้เก้าจั้น ตั้งแต่หัวแผวตีน ก่ได้เก้าจั้น ตั้งแต่ตีนแผวหัวก่าได้เก้าจั้นแสนวา ลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่า ก่จักบ่มาไก้ ข้าเจ้าก่เลยได้ว่า พุทธะคุนัง ธรรมมะคุนัง สังฆะคุนัง พุทธะอินทา ธรรมะอินทา สังฆะอินทา อัสอับอั้นแม่ธรณีผู้อยู่เหนือน้ำ ผู้อยู่ก้ำแผ่นดิน กอนข้าได้ระลึกกึ๊ดถึงคุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วตังสามผะกาน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณลม คุณกุศลราชเจ้าก่ดี คุณพรุะต๋นภาวนาก่ดี คุณนางอุตราก่ดี คุณธรณีเจ้าก่ดี ขอหื้อจุ่งมาจ่วยฮักษาตังก้ำหน้าและก้ำหลังตนตั๋วแห่งข้าพระเจ้าในคืนวันนี้ยามนี้จุ่งแต๊ดีหลีแด่เต๊อะ

พุทโธ พุทธังรักษา ธัมโม ธัมมังรักษา สังโฆ สังฆังรักษา
พุทโธ พุทธังอะระหัง ธัมโม ธัมมังอะระหัง สังโฆ สังฆังอะระหัง
พุทโธ พุทธังกัณหะ ธัมโม ธัมมังกัณหะ สังโฆ สังฆังกัณหะ
อายุ วรรณโณ สุขัง พะลัง สาธุ


คำไหว้บารมี 30 ทัศ(แบบครูบาศรีวิชัย)

              ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
              สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
              เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
              ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
             วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
             ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
             สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
            อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
          เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
         อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
         ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง



วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิธีดูเหรียญครูบาศรีวิชัย 2482




วันนี้เรามาดู ตำหนิและจุดตายของ เหรียญครูบาศรีวิชัย 2482 ขออนุญาตินำมาเผยแพร่ครับ

ครูบาศรีวิชัย 2482 วัดสวนดอก

เหรียญ ครูบาวัดสวนดอกรุ่นแรก ปี 2500 บล็อคแว่นตานิยม
 ปลุกเสกโดยครูบาคำแสน สมัยก่อนถือว่าเหรียญรุ่นนี้ใช้แทนเหรียญรุ่นปี 2482 หลังๆ มามีการทำเหรียญครูบามากขึ้นคนก็เลยลืมเหรียญรุ่นนี้ไป เหรียญนี้เนื้อตะกั่ว(ไม่ใช่ลองพิมพ์ เพราะเนื้อนี้ใช้แจกจริงๆ)

ครู บาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ


ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศี ลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก

ครูบาศรีวิชัย มีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่าน อธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาว ล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดย พลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระรอดครูบาศรีวิชัย

หนึ่งในวัตถุมงคลของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยตามมาตราฐานการอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชาไทย คือ "พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย" นับเป็นพระเกศาที่นิยมสูงที่สุดในแผ่นดินล้านนา การสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มีทรงพิมพ์มากมายไม่จำกัด แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้ 1.ทรงพิมพ์พระสกุลลำพูน เช่นพระคง พระรอด พระบาง พระเปิม ฯ 2.พิมพ์ทรงอิสระ ตามแต่ช่างชาวบ้านจะแกะแบบพิมพ์ 3.พิมพ์รูปเหมือนของครูบาเจ้าศรีวิชัย การบรรจุพระเกศาในพระพิมพ์อาจทำโดยใช้เส้นเกศาคลุกปนกับมวลสารที่ใช้สร้างพระ หรือโรยติดผิวพระ หรือห่อกระดาษสาฝังไว้ใต้ฐานพระ การฝังพระเกศาหากไม่เห็นเส้นเกศาเรียกว่า"เกศาจม"หากเห็นพระเกศาเรียกว่า"เกศาลอย"
ยุคสมัยการสร้าง แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ยุคต้น พระจะแห้งและเบามากอายุการสร้างนานกว่า 80 - 90 ปี ยุคกลาง อายุการร้าง  60 - 70 ปี ทั้ง 2 ยุคเป็นการสร้างช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ (แต่ไม่ใช่ท่านสร้างเองนะครับ) 3.ยุคปลายเป็นการสร้างพระเกศาหลังท่านมรณะภาพไปแล้ว

พระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ไม่ได้ถูกสร้างโดยครูบาฯท่าน แต่เป็นพระที่บรรดาลูกศิษย์ที่เคารพนับถือท่านทั้งที่เป็นพระสงฆ์และที่เป็นฆราวาส ได้นำเส้นเกศาของท่านมาสร้างในภายหลัง (เช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรกของท่าน ซึ่งสร้างขึ้นหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยมสูงมาก) เล่ากันว่าสมัยครูบาท่านมีชีวิตอยู่นั้นเวลาปลงผม บรรดาลูกศิษย์จะไปเก็บเส้นเกศาเก็บไว้ตลอด ได้ไปมากบ้างน้อยบ้าง บางท่านมีมากอย่างเช่นผ้าขาวดวงต๋า ปัญญาเจริญ ที่บ้านห้วยไซ ตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน เมื่อปี2540 อาจารย์ผดุง พุทธสโร แห่งวัดล้านตอง สันกำแพง ประสงค์จะสร้างพระจึงไปพบผ้าขาวดวงต๋า พบว่าแกเก็บเส้นเกศาครูบาฯไว้เป็นจำนวนมาก เกือบเต็มกระบอกไม่ไผ่ ปิดฝาลงรักไว้อย่างสวยงาม จึงสันนิษฐานได้ว่า ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ จนถึงช่วงท่านมรณภาพไปใหม่ๆ เส้นเกศาของท่านนั้นถูกเก็บรักษาไว้มีเป็นจะนวนมากทีเดียว ส่วนการนำมาสร้างพระเครื่องเล่ากันว่ามีการสร้างหลายครั้ง หลายผู้สร้าง แต่ก็ล้วนเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด และผสมเส้นเกศาอยู่จริงทั้งสิ้น พิมพ์ทรงส่วนมากจะล้อพิมพ์จากพระกรุสกุลลำพูนต่างๆ มวลสารที่ใช้สร้างประกอบด้วย ดอกไม้อุโบสถส่วนหนึ่ง ธรรมใบลานเก่าและพับหนังสา ส่วนหนึ่ง ใบสรี หรือใบโพ ที่เก็บได้จากต้นโพ จำนวน 108 ต้น ส่วนหนึ่ง นำมวลสารเหล่านี้มาสับให้เป็นชิ้น ๆ ตากให้แห้ง แล้วคั่วในกระทะใบใหญ่จนกรอบมีสีดำ จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด ร่อนเอาเฉพาะผงถ่านนำมาผสมกับยางรักที่กรองแล้วคลุกเคล้าจนเหนียวพอปั้นเป็นองค์ได้ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็จะขัดราชวัตรแวดล้อมพร้อมตั้งเครื่องบวงสรวงพลีกรรมตามธรรมเนียมอย่างล้านนา แล้วนำเส้นเกศามาปั้นผสมคลุกรักให้พอองค์ กดลงแม่พิมพ์ทีละองค์ทีละองค์ ทำเช่นนี้จนหมดเส้นเกศา จากกระบวนการสร้างดังกล่าวทำให้เนื้อพระผงเกศานั้นพิจารณาคล้ายกับพระผงคลุกรักนั่นเอง หากมีประสบการณ์ศึกษาสะสมพระเนื้อผงคลุกรักมาก่อน ก็จะสามารถแยกแยะพระผงเกศาฯ เก๊/แท้ ได้ไม่ยากนัก องค์ในภาพเป็นพิมพ์พระรอด ขนาดองค์พระเท่ากับพระรอดพิมพ์เล็กกรุมหาวัน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพระสกุลลำพูนและศรัทธาในท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย องค์นี้นับว่าคุ้มค่ามากครับ เหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญตามราคาไปไกลหลายแสน พระผงเกศามีเกศาของท่านผสมอยู่ แถมเป็นพิมพ์พระสกุลลำพูนที่ท่านนับถือ นับว่าเป็นของดีราคาถูก พุทธคุณสูงเกินราคามากๆ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เหรียญครูบาศรีวิชัยปี36 วัดฝั่งหมิ่น

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดฝั่งหมิ่น ปี 2536 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้างเพียง 2,536 เหรียญ

รุ่นนี้พิเศษมากๆตรงที่ปลุกเสกโดย หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ และเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือเราอีกมากมายครับ อีกทั้งยังเป็นเหรียญประสบการณ์ของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ

เนื่องจากทหารที่รอดตายจากระเบิด ส่วนใหญ่มีเหรียญนี้บูชาขึ้นคอกันครับ บอกได้คำเดียวหาที่ไหนไม่ได้แล้วครับ ความศักดิ์สิทธิ์ล้นฟ้าล้นแผ่นดินแห่งบารมีครูบาเจ้าศรีวิชัย และ ความเมตตาอันเข้มขลังแห่งหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ มารวมกันอยู่ในเหรียญนี้แล้วครับ ราคาถือได้ว่าถูกมากๆเลยทีเดียว แต่พุทธคุณนั้นเกินจะบรรยายครับ

นับว่าเป็นเหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่นใหม่ที่น่าเก็บ แถมราคายังไม่แพงครับ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รูปหล่อโบราณ ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศรีโสดา


รูปหล่อโบราณ ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศรีโสดา
 รุ่น สร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ลักษณะหล่อเป็นรูปครูบาเจ้าศรีวิชัย นั้งสมาธิเต็มองค์ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ วัสดุที่ใช้เป็นเนื้อทองสำริด การหล่อโบราณในสมัยนั้นบ่ง\nบอกถึงฝีมือของช่างชาวบ้าน แต่สิ่งที่บ่งบอกเป็นเอกลักษณ์ว่าคือครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น คือลูกประคำ และผ้ารัดประคต มีรอยแต่งตะไบที่ช่างใช้เก็บรายละเอียดในองค์พระ จะมีรอยตะไบใหญ่ๆ รอบองค์พระ ไม่ปรากฏข้อความใดๆ ในองค์พระแต่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นที่วัดศรีโสดา ในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพช่วงปี พ.ศ.2477-2478 รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิไชยรุ่นนี้ ถือว่าเป็นรูปหล่ออันดับหนึ่งของครูบาเจ้าศรีวิชัยที่หลายท่านอยากมีไว้ครอบครอง\nจำนวนการสร้างนั้นไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าสร้างได้ไม่มาก เพราะการหล่อโบราณในสมัยนั้นทำได้ยาก